Powered by Blogger.

Followers

การอ่านค่าตัวต้านทาน - Resistor

by Volk-69  |  at  6:29 AM

การอ่านค่าความต้านทาน  

ค่าความต้านทานโดยส่วนใหญ่จะใช้รหัสแถบสีหรืออาจจะพิมพ์ค่าติดไว้บนตัวต้านทาน ถ้าเป็นการพิมพ์ค่าติดไว้บนตัวต้านทานมักจะเป็นตัวต้านทานที่มีอัตราทนกำลังวัตต์สูง ส่วนตัวต้านทานที่มีอัตราทนกำลังวัตต์ต่ำมักจะใช้รหัสแถบสี ที่นิยมใช้มี 4 แถบสีและ 5 แถบสี
 
 
รูปที่ 17 รหัสสีค่าความต้านทาน
 
   
ตารางที่ 1 แสดงรหัสแถบสีจากตัวต้านทานแบบ 4 แถบสี
 
รหัสสี
(Color Code)
แถบสีที่ 1
ตำแหน่ง 1
แถบสีที่ 2
ตำแหน่ง 2
แถบสีที่ 3
ตัวคูณ
แถบสีที่ 4
เปอร์เซ็นต์ผิดพลาด
ดำ
0
0
1
20%(M)
น้ำตาล
1
1
10
1%(F)
แดง
2
2
100
2%(G)
ส้ม
3
3
1,000
-
เหลือง
4
4
10,000
-
เขียว
5
5
100,000
0.5%(D)
น้ำเงิน
6
6
1,000,000
0.25%(C)
ม่วง
7
7
-
0.1%(B)
เทา
8
8
-
0.05%(A)
ขาว
9
9
-
-
ทอง
-
-
0.1
5%(J)
เงิน
-
-
0.01
10%(K)
 
การอ่านค่ารหัสแถบสี สำหรับผู้เริ่มต้นศึกษาอาจจะมีปัญหาเรื่องของแถบสีที่ 1 และแถบสีที่ 4 ว่าแถบสีใดคือแถบสีเริ่มต้น ให้ใช้หลักในการพิจารณาแถบสีที่ 1,2 และ 3 จะมีระยะห่างของช่องไฟเท่ากัน ส่วนแถบสีที่ 4 จะมีระยะห่างของช่องไฟมากกว่าเล็กน้อย
 
ตัวอย่างที่ 1 ตัวต้านทานมีรหัสแถบสี ส้ม แดง น้ำตาล และทอง มีความต้านทานกี่โอห์ม ?
 
 
แถบสีที่
1
2
3
4
สี
ส้ม
แดง
น้ำตาล
ทอง
ค่า
3
2
X 10
5 %
 
อ่านค่ารหัสแถบสีได้ 320
ตัวต้านทานนี้มีความต้านทาน 320 ค่าผิดพลาด 5 เปอร์เซ็นต์
 
ตารางที่ 2 แสดงรหัสแถบสีจากตัวต้านทานแบบ 5 แถบสี
 
รหัสสี
(Color Code)
แถบสีที่ 1
ตำแหน่ง 1
แถบสีที่ 2
ตำแหน่ง 2
แถบสีที่ 3
ตำแหน่ง 3
แถบสีที่ 4
ตัวคูณ ตัวเติม 0
แถบสีที่ 5
เปอร์เซ็นต์ ผิดพลาด
ดำ
0
0
0
1
20%(M)
น้ำตาล
1
1
1
10
1%(F)
แดง
2
2
2
100
2%(G)
ส้ม
3
3
3
1,000
-
เหลือง
4
4
4
10,000
-
เขียว
5
5
5
100,000
0.5%(D)
น้ำเงิน
6
6
6
1,000,000
0.25%(C)
ม่วง
7
7
7
-
0.1%(B)
เทา
8
8
8
-
0.05%(A)
ขาว
9
9
9
-
-
ทอง
-
-
-
0.1
5%(J)
เงิน
-
-
-
0.01
10%(K)
 
ตัวอย่างที่ 2 ตัวต้านทานมีรหัสแถบสี เหลือง เทา แดง ส้ม และน้ำตาล มีความต้านทานกี่โอห์ม ?
 
 
แถบสีที่
1
2
3
4
5
สี
เหลือง
เทา
แดง
ส้ม
น้ำตาล
ค่า
4
8
2
X 1,000
1 %
 
อ่านค่ารหัสแถบสีได้ 482,000
ตัวต้านทานนี้มีความต้านทาน482 K ค่าผิดพลาด 1 เปอร์เซ็นต์
 

0 comments:

Proudly Powered by Blogger.